ข่าว

โตโยต้าฉลองความสำเร็จ 10 ปี รถยนต์ไฮบริดในประเทศไทย

โตโยต้ามีความมุ่งมั่นในการพัฒนาและริเริ่มโครงการต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้พันธสัญญาที่จะร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมจนนำไปสู่การแนะนำเทคโนโลยีเครื่องยนต์ไฮบริด(Hybrid Synergy Drive)สู่ตลาดโลกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ถือเป็นบริษัทผลิตรถยนต์รายแรกในประเทศไทย

สำหรับ โครงการ “การบริหารจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดใช้แล้วแบบครบวงจร (3R Scheme)” โตโยต้ามุ่งเน้นให้ทุกองค์ประกอบของแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดที่ผ่านการใช้งานแล้ว ได้เข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมทั้งในด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม   ตลอดจนนำทรัพยากรที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

โดยมีรายละเอียดในการดำเนินการ ดังนี้

1) กระบวนการตรวจสอบและประเมินคุณภาพอย่างรวดเร็ว (Rapid Diagnosis Process)
เริ่มจากการนำแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดที่ใช้แล้ว มาเข้ากระบวนการตรวจสอบโดยเครื่องมือและโปรแกรมตรวจสอบประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีศักยภาพในการตรวจสอบประเมินได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ก่อนที่จะทำการคัดประสิทธิภาพของโมดุล(เซลล์) ที่อยู่ในแบตเตอรี่ (ประสิทธิภาพตามความเหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละวัตถุประสงค์)

2) การผลิตแบตเตอรี่เกรดใช้งานแล้ว ลูกใหม่ (Rebuilt)
การนำโมดุล (เซลล์) ที่ยังคงมีประสิทธิภาพในระดับสูง มารวบรวมและประกอบขึ้นเป็นแบตเตอรี่ลูกใหม่ เพื่อจำหน่ายในราคาย่อมเยา ในราคาประมาณ 1ใน3 ของราคาแบตเตอรี่ใหม่ พร้อมการรับประกัน3) การใช้ซ้ำ (Re-use)
การนำโมดุล (เซลล์) ที่มีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง มีความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าได้มาประกอบขึ้นเป็นแบตเตอรี่เก็บพลังงานไฟฟ้าสำรอง (Energy Storage) สำหรับการใช้งานภายในอาคารสถานที่และโรงงาน ตลอดจนสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้า โดยสามารถนำไปใช้ในการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่เหลือจากแหล่งพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell) พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม (Wind turbine) เป็นต้น ถือเป็นการต่อยอดการนำพลังงานมาหมุนเวียนใช้ได้อย่างคุ้มค่า

4) การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
การนำโมดุล (เซลล์) ที่มีประสิทธิภาพในระดับต่ำ ส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยการนำไปเผาในเตาเผาแบบ Gasification เพื่อกำจัดสารที่เป็นอันตรายในอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งเป็นเตาเผาแรกของประเทศไทยที่สามารถเผาแบตเตอรี่ได้ทั้งแบบนิเกิล-เมทัล-ไฮไดรด์ (NiMH) และ แบบลิเธียมไอออน (Li-Ion) โดยภายหลังการเผาจะถูกส่งไปสกัดแร่โลหะที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำ นิกเกิล (Ni) และ โคบอลท์ (Co) กลับมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นแบตเตอรี่ใหม่อีกครั้ง ถือเป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

Most Popular

To Top